หน้ากากดำน้ำ
Home
Tourism
Boat
Snorkeling
Scuba
Hotline
Thai
English
อุปกรณ์ snorkel
หน้ากากดำน้ำ
ท่อหายใจ
เสื้อชูชีพ
You are here: Phuket Cruise > Snorkeling > Mask
หน้ากาก
หน้ากากดำน้ำ
หรือบางทีเราก็เรียกกันสั้น ๆ แบบทับศัพท์ว่า มาสค์ นั้น เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่สุด และสำคัญที่สุด ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า อุปกรณ์ดำน้ำอื่น ๆ เลย และแม้ใครที่ไม่ได้ดน้ำแบบ Scuba ก็ยังสามารถใช้ในการดำน้ำแบบ Snorkel ชมปะการังน้ำตื้นได้ ดังนั้น นักดำน้ำเกือบทุกคน จึงเริ่มต้นเป็นเจ้าของ อุปกรณ์ดำน้ำชิ้นแรกในชีวิตกันที่ หน้ากากดำน้ำ
เมื่อเป็นของใช้ส่วนตัว ที่ใช้ได้นาน และหลากหลายโอกาส เราก็ควรจะเลือกซื้อ หน้ากากดำน้ำ ให้ถูกใจและเหมาะกับตัวเองจริง ๆ เสียแต่แรกเลย จะดีที่สุด เพื่อการดำน้ำอย่างมีความุขในระยะยาว ดังนั้น ลองมาทำความรู้จักกับ ส่วนประกอบ และ ตัวเลือกแต่ละอย่าง ของหน้ากากดำน้ำกันดีกว่า
เลนส์หน้ากาก
หน้ากากดำน้ำเกือบทั้งหมดที่วางจำหน่ายกันอยู่นั้น จะใช้ตัวเลนส์ที่เป็นกระจกนิรภัย (Tempered Glass) เพื่อการดำน้ำที่ปลอดภัย เลนส์ที่ว่านี้จะมี 2 ลักษณะคือ แบบชิ้นเดียว กับแบบแยกชิ้ 2 ข้าง ซึ่งก็จะให้ทัศนวิสัยน้อยกว่าแบบชิ้นเดียว ตรงช่วงกลาง สำหรับคนที่สายตาสั้น, ยาว หรือเอียง หน้ากาก
บางรุ่น
จะออกแบบมาให้สามารถเปลี่ยนเลนส์ เป็นเลนส์สายตาได้ด้วย ตามความต้องการ แต่ก็จะเป็นหน้ากากแบบเลนส์แยกชิ้นเกือบทังหมด (ผมยังไม่เคยเห็น หน้ากากดำน้ำเปลี่ยนเลนส์ได้ ที่เป็นเลนส์ชิ้นเดียว) รายละเอียดสำหรับคนมีปัญหาด้านสายตา เชิญอ่านเพิ่มเติมด้านล่าง
เลนส์ข้าง
ไม่เพียงแต่เลนส์ด้านหน้าเท่านั้น หน้ากากบางรุ่น บางยี่ห้อ ยังออกแบบให้ด้านข้าง ก็เป็นเลนส์ใสเช่นกัน เพื่อเพิ่มทัศนวิสัยให้กว้างขึ้น สำหรับหน้ากากแบบนี้ ยังไม่ค่อยเห็นครใช้เท่าไหร่ จึงไม่มีข้อมูลมาเล่าให้ฟังว่า ดีกว่าแบบทั่วไปซักแค่ไหน คุ้มค่าหรือไม่อย่างไร ใครเคยใช้แล้ว ลองมาเล่าให้ฟังบ้างนะครับ
ขอบหน้ากาก
รูปร่างของขอบหน้ากาก จะมีผลต่อทัศนวิสัยที่นักดำน้ำจะมองเห็น เช่น หน้ากากบางรุ่น อย่าง Saekodive Wide Vision หรือ Technisub Mythos จะเพิ่มระยะขอบล่าง ทำให้มองเห็นด้านล่างได้มากขึ้น
ความหนา ของขอบหน้ากาก ก็มีผลต่อทัศนวิสัยเช่นกัน คือยิ่งบาง หรือที่เรียกกันว่า low profile ก็จะเพิ่มองศาการมองเห็นได้มากขึ้น
นอกจากนี้ ความหนาของขอบหน้ากาก ยังมีผลต่อปริมาตรอากาศในหน้ากากด้วยเช่นกัน คือ ยิ่งบาง ก็ยิ่งทำให้ปริมาตรอากาศน้อย (low volume) สามารถเคลียร์หน้ากาก เวลาน้ำเข้า ได้ง่ายขึ้น
แต่ใบหน้าของคุณจะใช้หน้ากากหนาบางได้ขนาดไหน คงต้องลองวัดดู เพราะยิ่งบางมาก ก็อาจไปกดทับจมูก หรือโหนกคิ้วได้
ขอบยาง
ทำจากซิลิโคน ซึ่งทนทาน นิ่ม ไม่ก่อให้เกิดอาการระคายกับผิวใบหน้า ทำให้แนบกระชับ ไม่มีรูให้อากาศรั่วออกได้
ขอบจมูก
ขอบยางซิลิโคนบริเวณร่องจมูก เป็นอีกจุดหนึ่งที่ควรเลือกอย่างระมัดระวัง คือ ต้องแน่ใจว่า สามารถสอดนิ้วเข้าไปบีบจมูกเพื่อเคลียร์หูได้ แม้ส่วนใหญ่จะไม่พบปัญหานี้ก็ตาม แตกันไว้ดีกว่าแก้ครับ ทุกครั้งที่เลือกหน้ากากดำน้ำ ควรทดสอบการบีบจมูกเพื่อเคลียร์หูด้วย ว่าทำได้อย่างสะดวกหรือไม่ เพื่อการดำน้ำอย่างมีความสุขในทุกไดฟ์
คำแนะนำสำหรับคนมีปัญหาด้านสายตา
เปลี่ยนเลนส์หน้ากาก (ดังที่อธิบายไปข้างต้น) วิธีนี้ ดูดีสุด แต่ราคาแพงสุด และความยืดหยุ่นน้อย หากคุณต้องผลัดกันใช้หน้ากาก กับญาติสนิทมิตรสหาย เลนส์ดังกล่าว สามารถเปี่ยนกลับไปมา จากเลนส์ปกติกับเลนส์สายตาได้ แต่ก็ยุ่งยากเอาการ
ติดเลนส์เพิ่ม โดยให้ร้านทำแว่นที่เชี่ยวชาญงานด้านนี้ (เท่าที่ทราบมีไม่กี่ร้าน) เลนส์ที่นำมาติดเพิ่ม จะคล้ายกับเลนส์ที่ใช้ทำแว่นตาตามปกติ แต่ไม่ใช่ เพราะหน้าเลนส์ดานหนึ่งจะเรียบ เพื่อให้ติดกับหน้ากากเรียบ ๆ ได้ เรื่องความใสไม่ต้องห่วงครับ เพราะกาวที่ใช้ จะใสจนมองไม่เห็น นอกจากร้านทำไม่ค่อยดี อาจมีฟองอากาศจิ๋ว ๆ หลงอยู่บ้าง ซึ่งใส่แล้วก็มอไม่เห็นหรอกครับ
วิธีนี้ อาจดูไม่ดีเท่าไหร่ แต่ก็มีผู้ใช้กันเยอะ ถือเป็นเรื่องธรรมดา ค่าใช้จ่ายต่ำกว่าเปลี่ยนเลนส์หน้ากาก ราว ๆ 50% ส่วนความยืดหยุ่นในการยืมใช้กัน ก็เป็นศูนย์ครับ แต่ก็มีผู้เสนอแนวคิดเพิ่มอีกนิดว่า เลนส์ที่นำมาแปะนี้ จะช่วยลดปริมาตรอากาศในหน้ากากด้วย เหมือนได้หน้ากาก low profile มาใช้เชียว
ใช้คอนแทคท์เลนส์ เข้าใจง่ายครับ ดูดี ราคาไม่แพง (ถ้าคิดจะดำน้ำเพียงช่วงสั้น ๆ หรือปกติใช้อยู่แล้ว) ความยืดหยุ่นสูง แต่เลนส์มีโอกาสหลุดหากน้ำเข้ามาก ๆ ซึ่งเท่าที่ได้ยินได้ฟังมา ก็มีผู้เลือกใช้วิธีนี้อยู่มากทีเดียว และปัญหาเลนส์หลุด ก็ไม่ได้เจอกันบ่อย ๆ นับเป็นวิธีที่น่าสนใจที่สุด จะลองใช้กับเลนส์แบบรายวันดูก่อนก็ได้
Home
Tourism
Boat
Snorkeling
Scuba
Hotline